วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

, , , ,

Al Eman.

 

หลักศรัทธา (อัล-อีมาน)

 

อัลอีมาน



เป็นหลักความเชื่อของมุสลิมที่มาจากผู้เป็นเจ้าประกอบด้วย 6 ประการ


1. การศรัทธาต่ออัลเลาะห์



คือการศรัทธาว่าอัลเลาะฮ์เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง


2. การศรัทธาต่อบรรดามาลาอิกะฮฺ



เป็นมัคลูกที่อัลลอฮฺทรงสร้าง มีความแตกต่างจากมนุษย์ทุกประการ


3. การศรัทธาต่อบรรดาร่อซู้ล



ในฐานะที่เป็นศาสดาที่อัลลอฮฺเลือกสรรค์เพื่อนำบทบัญญัติของพระองค์มาเผยแผ่แก่มวลมนุษยชาติ


4. การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์



ที่อัลลอฮฺทรงโปรดประทานแก่บรรดาศาสดาในการเผยแผ่ศาสนา


5. การศรัทธาต่อวันสิ้นโลก



มุสลิมต้องเชื่อว่าวันสิ้นโลกมีจริง และเชือในการพิจารณาการตอบแทนและการลงโทษ


6. การศรัทธาว่ากฎสภาวการณ์ต่าง ๆ มาจากอัลลอฮฺ



คือการเชื่อว่าการกำหนดความดี ความชั่ว และสถานการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมาจากอัลลอฮฺ

 
Publisher: sri-ayothaya - 14:13

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

, ,

Muslim community in Ayuthaya.

 

การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม กรณีชุมชนมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 


การทำความเข้าใจในอิสลามที่ถูกต้องของต่างศาสนิกนั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่มีโอกาสบานปลายได้หากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือไม่ชัดเจนในสังคม ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องจัดให้มีกิจกรรมเพื่อการประสานงาน ประสานใจระหว่างกันเพื่อเกิดความสามัคคีของคนในชาติ ไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งพรรคแบ่งพวกจนเกิดความแตกแยก สร้างความปวดร้าวต่อกันดังอดีตที่เราเคยประสบมา..

จากกรณีตัวอย่าง สื่อวารสารมุสลิม (รายงานพิเศษ แนวทางแก้ไขความผิดพลาดการผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ข่าวสาร สำนักจุฬาราชมนตรี กันยายน 2542) มีข้อความดังนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2542 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม” ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในปัจจุบันที่ปรากฏชัดว่าสื่อต่าง ๆ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น ตำราเรียนในระดับต่าง ๆ คำบรรยายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามในด้านศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ หลักคำสอน ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่เนือง ๆ ทั้งสิ้น อาจมาจากเหตุปัจจัยหลายด้านด้วยกัน ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้นอกจากจะสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้รับสื่อ และสร้างความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในทางวิชาการแล้ว ยังสร้างความสะเทือนใจ ไม่สบายใจแก่พี่น้องมุสลิมด้วยซื่งไม่เป็นผลดีใด ๆ
ในการสร้างความรัก สามัคคี และความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ การจัดสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นมาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขความผิดพลาดในการเรียบเรียงตำราคำสอนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามให้ถูกต้องและเป็นแนวทางในการสื่ออธิบายคำสอนศาสนาอิสลามเป็นภาษาไทยอย่างถูกต้อง
การจัดสัมนานี้ เพื่อทำความเข้าใจอันดีระหว่างพี่น้องร่วมชาติ เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่น คือ เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามมีโอกาสพบปะกับนักวิชาการอิสลาม ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และมีเจตคติที่ดีต่อกัน ให้โอกาสนักวิชาการศาสนาอิสลามตรวจสอบสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ในสังคมไทยว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์ หรือบกพร่องประการใดบ้าง ทั้งนี้ เพื่อจะได้เสนอแนะต่อผู้เขียนและสำนักพิมพ์ต่อไป และเป็นการหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามซึ่งยังผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องต่อไป

ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 100 คน จากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาศาสนาเปรียบเทียบทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม ซึ่งนายสุรเชษฐ์ แวอาแซ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานคณะอนุกรรมการจัดสัมมนา และนายเด่น โต๊ะมีนา ประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กล่าวเปิดสัมมนา./

 
Publisher: sri-ayothaya - 09:09
, , ,

Islamic community history in Ayuthaya, Thailand.

  

อิสลามในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

 


ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรมุสลิมกระจายอยู่เกือบทุกพื้นที่ ทุกจังหวัดของประเทศไทย อาศัยอยู่ร่วมกับประชากรที่เป็นศาสนิกอื่น บางจังหวัดมีมุสลิมอาศัยอยู่เป็นประชากรส่วนใหญ่ บางจังหวัดมีมุสลิมเป็นประชากรส่วนน้อย จากข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดความกังขาขึ้น ในประชากรของประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่มุสลิม สาเหตุจากข่าวสารต่าง ๆ ที่สื่อว่าประเทศที่มีประชากรเป็นมุสลิมมักมีปัญหาความไม่สงบภายในประเทศอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ได้เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม สาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความไม่เข้าใจบางอย่างไม่ชัดเจนต่อกัน

สำหรับในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นเขตภาคกลางของไทยถือได้ว่ามีประชากรมุลสิมค่อนข้างหนาแน่น และอาศัยอยี่ร่วมกับประชากรที่นับถือต่างศาสนามาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว ในสมับนั้นมุสลิมอยู่ร่วมกันเป็นประชากรของสยามอย่างปกติสุข และมีบทบาทในการบริหารสยามประเทศมายาวนาน แต่ในระยะหลังปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากมุสลิมกับต่างศาสนิกมีความติด ความเข้าใจ และการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมือนกัน บทความนี้จึงต้องการนำเสนอความเป็นตัวตนของมุสลิมให้ถูกต้องกับความเป็นจริงให้มากที่สุด อย่างน้อยก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอันจะทำให้ประชากรของไทยซึ่งมีหลากหลายศาสนาและความเชื่อ สามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข อันเป็นแนวทางแห่งการสมานฉันท์ทางสังคมโดยเริ่มจากคำสั่งสอนที่สำคัญที่ทำให้มุสลิมมีแนวคิดเหมือนกันดังตัวอย่างจากวารสาร ที่นี่สำนักจุฬาราชมนตรี ปีที่ 2 ฉบับที่ 19 มกราคม 2549) มีข้อเขียนหน้าที่ 8 หัวข้อ พี่น้องร่วมคุณธรรม ความว่า
ศาสนาอิสลามได้กำหนดให้มุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน และกำชับให้รักและสามัคคี และให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อมีข้อขัดแย้งก็ให้ประนีประนอมกัน
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลฮุญฺรอต : 10 ความว่า “ แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายนั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้น สูเจ้าจงไกล่เกลี่ย (ให้เกิดความสามัคคี) ในระหว่างพี่น้องทั้งสองเพื่อเจ้าจะได้รับความเมตตาจากพระองค์” นอกจากนี้ มุสลิมต้องช่วยเหลือและคุ้มครองกัน มีฮะดิษจกอบีดัรดาอ์ (รฎ.) ท่านร่อซู้ล (ซล.) กล่าวว่า “มุอ์มินย่อมเป็นกระจกของมุอ์มิน และมุอ์มินเขาย่อมคุ้มครองทรัพย์สินให้กันและกัน และช่วยเหลือดูแลอยู่ข้างหลังเพื่อนมุสลิม (เมื่อเพื่อนเขาไม่อยู่)” รายงานโดย บุคอรี
 
หะดีษได้กล่าวว่า “มุสลิมเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกัน เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดเจ็บป่วย ส่วนอื่นก็จะเจ็บป่วยไปด้วย” จากอัลกุรอ่านและอัลหะดีษดังกล่าว จะพบว่า เมื่อมีปัญหาอะไรก็ตาม มุสลิมจะร่วมมือกันไม่จำกัดขอบเขตของเผ่าพันธุ์หรือเชื้อชาติ
สำหรับการเข้าใจอิสลามอย่างไม่ถูกต้องของต่างศาสนิกนั้น เป็นปัญหาหนึ่งที่มีโอกาสบานปลายได้ จากเหตุกรณ๊ตัวอย่างในหลาย ๆ กรณี ซึ่งเราจะขอนำเสนอในโอกาสต่อไป./

 
Publisher: sri-ayothaya - 09:05
, , ,

Islamic structure.

โครงสร้างของศาลนาอิสลาม

 
ศาสนาอิสลามมีโครงสร้างหลักอยู่ 3 ประการ คือ
 
1. หลักการศรัทธา (อิหม่าน)
2. หลักปฎิบัติ 5 ประการ (ซีพัตวายิบ)
3. หลักคุณธรรม (อัลเอียะห์ซาน)

 
Publisher: sri-ayothaya - 09:01
, ,

Al Hadiz



  

พระวัจนะของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.)

 
บรรดานักวิชาการได้ให้คำนิยามคำว่า อัล ฮะดิษ หรืออัลอะดิส ไว้สอง ประการ

ความหมายของอัลอะดิษ

แปลว่า ใหม่ ซึ่งหมายถึง




ตัวอย่างคำสอนอัลฮะดิษ
Publisher: sri-ayothaya - 08:54
 

 

ประวัติศาสตร์ชาติไทยเคียงคู่อโยธยา

อิสลามสยาม ร่วมสนับสนุนสร้างประวัติศาสตร์ขาติไทย