วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Filled Under: , ,

Muslim community in Ayuthaya.

Share
 

การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม กรณีชุมชนมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 


การทำความเข้าใจในอิสลามที่ถูกต้องของต่างศาสนิกนั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่มีโอกาสบานปลายได้หากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือไม่ชัดเจนในสังคม ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องจัดให้มีกิจกรรมเพื่อการประสานงาน ประสานใจระหว่างกันเพื่อเกิดความสามัคคีของคนในชาติ ไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งพรรคแบ่งพวกจนเกิดความแตกแยก สร้างความปวดร้าวต่อกันดังอดีตที่เราเคยประสบมา..

จากกรณีตัวอย่าง สื่อวารสารมุสลิม (รายงานพิเศษ แนวทางแก้ไขความผิดพลาดการผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ข่าวสาร สำนักจุฬาราชมนตรี กันยายน 2542) มีข้อความดังนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2542 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม” ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในปัจจุบันที่ปรากฏชัดว่าสื่อต่าง ๆ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น ตำราเรียนในระดับต่าง ๆ คำบรรยายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามในด้านศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ หลักคำสอน ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่เนือง ๆ ทั้งสิ้น อาจมาจากเหตุปัจจัยหลายด้านด้วยกัน ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้นอกจากจะสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้รับสื่อ และสร้างความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในทางวิชาการแล้ว ยังสร้างความสะเทือนใจ ไม่สบายใจแก่พี่น้องมุสลิมด้วยซื่งไม่เป็นผลดีใด ๆ
ในการสร้างความรัก สามัคคี และความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ การจัดสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นมาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขความผิดพลาดในการเรียบเรียงตำราคำสอนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามให้ถูกต้องและเป็นแนวทางในการสื่ออธิบายคำสอนศาสนาอิสลามเป็นภาษาไทยอย่างถูกต้อง
การจัดสัมนานี้ เพื่อทำความเข้าใจอันดีระหว่างพี่น้องร่วมชาติ เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่น คือ เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามมีโอกาสพบปะกับนักวิชาการอิสลาม ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และมีเจตคติที่ดีต่อกัน ให้โอกาสนักวิชาการศาสนาอิสลามตรวจสอบสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ในสังคมไทยว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์ หรือบกพร่องประการใดบ้าง ทั้งนี้ เพื่อจะได้เสนอแนะต่อผู้เขียนและสำนักพิมพ์ต่อไป และเป็นการหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามซึ่งยังผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องต่อไป

ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 100 คน จากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาศาสนาเปรียบเทียบทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม ซึ่งนายสุรเชษฐ์ แวอาแซ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานคณะอนุกรรมการจัดสัมมนา และนายเด่น โต๊ะมีนา ประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กล่าวเปิดสัมมนา./

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น